- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง กับเรื่องต้องระวัง
กับไลฟ์สไตล์ปัจจุบันที่ของหวานหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอยู่รายล้อมรอบตัวเราไปหมด นอกจากโรคอ้วน หรือ น้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ที่ทำให้หลายๆ คนกังวลว่าจะอ้วนขึ้น หรือ รูปร่างไม่ดีเหมือนเก่า อีกหนึ่งสิ่งที่คุณต้องใส่ใจไม่แพ้กันก็คือ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เพราะสิ่งนี้ ส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณมากกว่าที่คิด
ทำความรู้จัก ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia)
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ โดยปกติแล้วระดับน้ำตาลในเลือดของคนเราจะอยู่ที่ 70 – 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร นั่นหมายความว่า
- หากหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ระดับค่าน้ำตาลในเลือดเกินกว่า 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือ
- หลังมื้ออาหาร 2 ชั่วโมง ระดับค่าน้ำตาลในเลือดเกินกว่า 140 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ก็เท่ากับว่า คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้ ที่บอกแบบนี้เพราะว่า ผู้ป่วยเบาหวานจะเผชิญกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงง่ายกว่าคนทั่วไป มักมีสาเหตุมาจากร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือ ผู้ป่วยเกิดภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ร่างกายมีการควบคุมระดับน้ำตาลผิดปกติ
น้ำตาลในเลือดสูง กับอาการที่พบบ่อย
- ร่างกายเหนื่อย หรือ อ่อนล้าผิดปกติ
- หิวบ่อย มีอาการอยากอาหารมากกว่าปกติ
- ร่างกายขาดน้ำ กระหายน้ำบ่อย
- ปัสสาวะบ่อย (โดยเฉพาะเวลากลางคืน)
- มีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว (คล้ายๆ เป็นหวัด)
- สายตาพร่ามัว มีอาการตาลาย
- ผิวหนังแห้ง และคัน
- มีอาการปวดมวนในท้องอย่างไร้สาเหตุ
- แผลหายช้า มีอาการติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย
และหากไม่ได้รับการรักษาให้ทันท่วงที อาจส่งผลให้อาการรุนแรงขึ้น เช่น
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ปากแห้ง
- เหนื่อยง่าย มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ
- ปวดท้อง
ปัจจัยที่ทำให้เกิด ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
แม้ว่าคุณจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไม่ได้หมายความว่า คุณจะป่วยหรือมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคเบาหวานเสมอไป เพราะทางการแพทย์พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถสูงขึ้นจากอาการป่วย หรือ เครียดได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่า เมื่อคุณมีอาการป่วยหรือเครียด ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำตาลจะผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเพื่อต่อสู้กับอาการเจ็บป่วยและภาวะเครียด ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงขึ้นได้ ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ประกอบไปด้วย
- โรคตับอ่อนอักเสบ
- โรคมะเร็งตับอ่อน
- ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
- ผู้ป่วย Cushing's Syndrome ส่งผลให้ร่างกายมีฮอร์โมนคอร์ติซอลในเลือดมากกว่าปกติ
- เนื้องอกบางชนิด ที่ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ
- ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อาทิ โรคหลอดเลือดสมอง, ร่างกายได้รับบาดเจ็บ, ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น
- มีอาการเจ็บป่วยอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชั่วคราว
- รับประทานยาบางชนิด เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blocker) เอสโตรเจน กลูคากอน (Glucagon) และยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน
- การทานคาร์โบไฮเดรต อาทิ ขนมปัง ข้าว หรืออาหารจำพวกแป้ง มากเกินไป
- ภาวะเครียด
- ไม่ชอบขยับตัว ไม่ชอบออกกำลังกาย
How to รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดจะขึ้นอยู่กับความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยแบ่งผู้ป่วยออกได้ดังนี้- ผู้มีภาวะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรือ ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงไม่รุนแรง กรณีนี้แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมอาหาร คู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หรือ รับการรักษาเพิ่มตามความเหมาะสม
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือ ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง แพทย์จะรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนอินซูลิน
- ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือ ผู้ป่วยที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากโรค หรือร่างกายมีความผิดปกติ แพทย์มักจะเริ่มต้นรักษาจากโรคหรือความผิดปกติของร่างกายก่อน เพื่อเป็นการปรับระดับน้ำตาลในเลือดในเป็นปกติ แต่ในบางครั้งอาจจะรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนอินซูลินควบคู่ไปด้วย (แล้วแต่แพทย์เห็นเหมาะสม)
1. ทานคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง ดื่มน้ำให้มากขึ้น
เพราะการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง อาหารจำพวกแป้ง หรืออาหารที่น้ำตาลเป็นส่วนประกอบมากเกินพอดี ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรง เพราะร่างกายจะทำหน้าที่ย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ทานออกมาเป็นกลูโคสหรือน้ำตาลในเลือด นั่นหมายความว่า หากคุณทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เกินพอดี คุณอาจจะเป็นหนึ่งคนที่ต้องเผชิญกับปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้
นอกจากเลือกทานอาหารที่ดีแล้ว คุณจำเป็นที่จะต้องบอกลาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณที่สูง ไม่ว่าจะเป็น น้ำอัดลม, น้ำผลไม้ ฯลฯ และหันมาดื่มน้ำเปล่าที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแทน เพราะการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยขับน้ำตาลออกจากร่างกายผ่านทางปัสสาวะ และช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ หรือ นักโภชนาการ เพื่อให้คุณสามารถทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตได้ในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกายของตัวคุณเอง และยังสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและคงที่ควบคู่กันไปด้วย
2. ขยับตัวให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญของร่างกายให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังมีส่วนช่วยให้ร่างกายใช้พลังงานที่สะสมไว้ รวมถึง ทำให้น้ำตาลถูกนำออกมาใช้มากขึ้นด้วย
แต่แม้ว่าการออกกำลังกายจะส่งผลดีต่อสุขภาพมากแค่ไหน แต่การออกกำลังกายอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีหรือเหมาะสำหรับทุกคน ดังนั้น ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อาจจะต้องขอคำแนะนำก่อนเริ่มต้นออกกำลังกายจากแพทย์ก่อน เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจจะตามมา
3. เลือกใช้สารให้ความหวานทดแทน
หากต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายและดีต่อสุขภาพแล้ว การเลือกสารให้ความหวานทดแทนที่ให้พลังงาน หรือมี ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ( Low Glycemic Index (GI)) ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน (แต่ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม) แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ เราแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนจะเป็นการดีที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดและจดบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามการรักษาได้ดียิ่งขึ้น
ต้องบอกก่อนว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา การดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการเลือกทานอาหารเสริมอย่าง S.O.M. เอส-บาลานซ์ (S-Balance) ที่มีส่วนช่วยปรับสมดุลการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน และช่วยในการเผาผลาญน้ำตาลและไขมันส่วนเกินที่สะสมในร่างกาย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของคุณเช่นกัน แต่ต้องไม่ลืมที่จะออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำจะช่วยให้คุณไม่ต้องเสี่ยงกับภาวะน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติได้