- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

เช็กลิสต์สาเหตุ ที่ทำให้คุณรู้สึกไม่สดชื่นเมื่อตื่นนอน หรือ รู้สึกเพลียหลังตื่นนอน
อาการไม่สดชื่นหรืออ่อนเพลียหลังตื่นนอน มักจะมีสาเหตุมาจากการนอนหลับไม่สนิทในเวลากลางคืน , อาการหลับๆ ตื่นๆ , ความเครียด อาการเหล่านี้เป็นต้นเหตุของ โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของตัวเราเอง ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมการกิน หรือ ไลฟ์สไตล์ในแต่ละวัน อาทิ
- สูบบุหรี่
- ปาร์ตี้ / ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- การดื่มกาแฟ หรือ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
- ความเครียด ความวิตกกังวล
- อาการเจ็บป่วย เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัว ฯลฯ
- ท้องว่าง , อาการหิวกลางดึก
- พฤติกรรมการทานอาหารมื้อดึกที่ทำให้อิ่มมากเกินไป ทำให้เกิดการแน่นท้องกลางดึก ส่งผลให้นอนไม่หลับได้
- อาชีพ หรือ ลักษณะการทำงาน ที่ต้องมีการเปลี่ยนเวลาเข้างานอยู่เป็นประจำ ส่งผลให้เวลาการเข้านอนเปลี่ยนตามไปด้วย
- สิ่งแวดล้อมโดยรอบห้องนอนไม่เอื้อต่อการพักผ่อน เช่น มีเสียงดังรบกวนเกือบตลอดเวลา , ห้องนอนสว่างเกินไป หรือ มีแสงรบกวน ฯลฯ
สิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการนอนของเราทั้งสิ้น หลายๆ คนอาจจะคิดว่า อาการนอนไม่พอ, หลับไม่สนิท เป็นปัญหาเล็กๆ ที่ทำให้รู้สึกง่วง, อ่อนเพลียหลังตื่นนอน หรือก่อให้เกิดความง่วงระหว่างวันเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป การนอนไม่พออาจจะทำให้คุณต้องเผชิญกับภาวะอ่อนเพลียเรื้อรังได้
ทำความเข้าใจ ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Hypoglycemia) หรือ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Chronic Fatigue Syndrome (CFS)) เกิดจากความผิดปกติในร่างกาย ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า, อ่อนเพลีย, ปวดเมื่อยเนื้อตัว รวมถึง มีอาการนอนไม่หลับในเวลากลางคืน ตื่นเช้าไม่สดชื่น , มีอาการง่วงหลังตื่นนอน จนเป็นเหตุให้มีอาการหาวหรือง่วงนอนระหว่างวันบ่อยๆ
โดยปกติแล้ว ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (CFS) มักจะเกิดกับผู้หญิงวัยทำงานอายุประมาณ 25-45 ปี มากกว่าผู้ชาย และแพทย์เองยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะภาวะนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการเพิ่มน้ำตาลเข้าร่างกายด้วย การปรับลดปริมาณการทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง
ทั้งนี้เพราะการทานขนมหวาน หรือดื่มเครื่องดื่มประเภทน้ำหวาน น้ำอัดลม กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง ไม่ได้ช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าอย่างที่คุณคิด ที่บอกแบบนี้เพราะว่า ทุกครั้งที่คุณทานของหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะพุ่งสูงมากขึ้น เป็นเหตุให้ร่างกายต้องผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ต่ำลง นั่นหมายความว่า ยิ่งคุณทานของหวาน หรือ น้ำหวานมากขึ้นเท่าไหร่ ตับอ่อนก็จะต้องทำงานหนักเพื่อผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกายมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งการที่ตับอ่อนทำงานหนักจนเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณในที่สุด
วิธีสังเกตอาการ ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Hypoglycemia)
- นอนมาแล้วหลายชั่วโมง แต่ยังมีอาการเพลีย, หมดแรง
- ตื่นเช้ามามีอาการไม่สดชื่น รู้สึกอยากนอนซ้ำอีก
- คิดอะไรไม่ค่อยออก สมองตื้น หรือ มีอาการสับสน
- มีอาการปวดเมื่อยตัว, ปวดหลัง
- ความสามารถในการทรงตัวลดลง
- เท้าเย็น
- เป็นตะคริวบ่อย
ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Hypoglycemia) ส่งผลเสียมากกว่าที่คิด
นอกจากอาการอ่อนเพลียเรื้อรังจะทำให้คุณมีอาการเฉื่อยชา ไม่สดชื่นแล้วนั้น โรคอ่อนเพลียเรื้อรังยังส่งผลต่อพฤติกรรมทางด้านอารมณ์อื่นๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- หงุดหงิดง่าย
- ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
- ขี้โมโห
- ไม่มีสมาธิ ฯลฯ
แต่คุณไม่ต้องเป็นกังวลไป เพราะอาการอ่อนเพลียหลังตื่นนอน หรือภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ เช่น
- เรียนรู้ที่จะเริ่มวางแผนการเรียน / การทำงาน
- ลดความเครียด
- เลิกนิสัยนอนดึก ไม่ควรนอนหลัง 4 ทุ่ม เพื่อให้ร่างกายมีการฟื้นฟูซ่อมแซมตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เลิกเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนนอน รวมถึงควรปิดไฟในห้องให้มืดสนิท ป้องกันไม่ให้สายตาถูกกระตุ้นจากแสง
- เลี่ยงการทานมื้อดึก อย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน หากรู้สึกหิวตอนกลางคืน ควรเลือกดื่มนมอุ่น น้ำเปล่า หรือ ผลไม้อย่าง ฝรั่ง มะละกอ ฯลฯ แทน
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่เสมอ
- บอกลาอาหารขยะ (Junk food) น้ำอัดลม เบเกอรี่ ขนมหวาน ฯลฯ ที่มีส่วนทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนเป็นเหตุให้ร่างกายต้องทำงานหนักเพื่อควบคุมน้ำตาล ส่งผลให้เกิดความง่วงระหว่างวัน
- เลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลต่ำ หรือคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดสี ฯลฯ
- เลือกทานวิตามินที่ทำให้ร่างกายสดชื่น อาทิ วิตามิน ซี, วิตามิน บีรวม เป็นต้น
- เลือกเครื่องนอน หรือ อุปกรณ์การนอน (หมอน, ที่นอน, เบาะรองที่นอน ฯลฯ)ให้เหมาะสมกับสรีระร่างกายของตัวเอง เพื่อให้สามารถนอนหลับได้สนิทมากขึ้น
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ในกรณีที่คุณเป็นคนหลับยาก
ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน เพราะการออกกำลังกายก่อนนอนจะทำให้ร่างกายตื่นตัว อาจจะส่งผลให้คุณนอนหลับได้ยากกว่าเดิม และควรหลีกเลี่ยงการเลือกกินยานอนหลับ หรือยาคลายเครียดเป็นประจำ เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ และอาจจะทำให้คุณมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาในอนาคตได้
ทั้งนี้ อย่าลืมดูแลตัวเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ รวมถึง เลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูและบำรุงร่างกายขณะนอนหลับ เพื่อให้คุณสามารถมีสุขภาพการนอนที่ดีมีคุณภาพ ไม่ต้องเผชิญกับอาการอ่อนเพลียหลังตื่นนอนอีกต่อไป