- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

เช็กลิสต์อาการเฝ้าระวัง หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)
หลังจากที่รัฐบาลได้ดำเนินการให้ ประชาชนลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีน ไปแล้วนั้น ในช่วงต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลได้เริ่มฉีดวัคซีนให้กับประชาชนทั่วไปแล้ว หลายคนได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) และมีการแชร์ข้อมูลกันถึงอาการแพ้หลังจากได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งก่อให้เกิดความกังวลใจกับหลายๆ คน ที่กำลังเตรียมตัวเพื่อไปฉีดวัคซีน
บทความนี้ ทีมงาน RS Mall จึงขอแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับอาการแพ้หลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) ว่าจะมีอาการอย่างไรบ้าง และอาการแบบไหนที่บ่งบอกว่าเกิดสิ่งปกติขึ้นแล้ว มาอ่านไปพร้อม ๆ กันเลย
เช็กลิสต์อาการแพ้วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) ที่ควรเฝ้าระวัง
วัคซีน AstraZeneca (แอสตร้าเซเนก้า) เป็นวัคซีน Covid-19 ชนิดไวรัสเวกเตอร์หรือวัคซีนเชื้อเป็น ต่างจาก Sinovac ที่เป็นวัคซีนเชื้อตาย สำหรับวัคซีนเชื้อเป็นอย่าง AstraZeneca นั้นถือว่ามีความเสี่ยงสูงกว่า ในเรื่องของอาการแพ้วัคซีน หรือ ผลข้างเคียงที่เกิดกับผู้รับวัคซีนที่พบมาก จะสามารถแบ่งอาการได้ดังต่อไปนี้
1.อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนที่ไม่รุนแรง
อาการเหล่านี้จะเป็นอาการข้างเคียงหลังจากที่ได้รับวัคซีนโดยทั่วๆ ไป เกิดจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนและกำลังสร้างภูมิคุ้มกัน ใช้เวลาพักผ่อนเพียง 1-2 วัน ก็จะกลับมาเป็นปกติ อาทิ
- อาการเจ็บหรือปวดบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- อาการปวดศีรษะ
- อาการอ่อนเพลีย
- อาการปวดกล้ามเนื้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว และรู้สึกไม่สบายตัว
- มีอาการไข้ รู้สึกหนาวสั่น (พบมากในผู้รับวัคซีนที่อายุต่ำกว่า 40 ปี)
- อาการคลื่นไส้ อาเจียน
2. อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนรุนแรง
หากหลังจากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) มาแล้วพบว่ามีอาการต่อไปนี้หลายๆ ข้อร่วมกัน อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะแพ้วัคซีนขั้นรุนแรง (Anaphylaxis) ที่ควรพบแพทย์โดยด่วน อาทิ
- คัน, ผิวเป็นสีแดง, มีผื่นลมพิษ, มีจุดหรือจ้ำเลือดจำนวนมากขึ้นบนผิวหนัง
- ปากบวม, หน้าบวม
- หอบเหนื่อย หรือ มีเสียงวี้ดขณะหายใจ
- คัดจมูก
- เวียนศีรษะและหมดสติ
- ตรวจพบความดันต่ำ
- คลื่นไส้และอาเจียนมากกว่า 5 ครั้ง
- ปวดท้อง หรือ ท้องเสียร่วมด้วย
- มีไข้สูงกว่า 39 เซลเซียส
นอกจากอาการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ยังมีเรื่องของอาการลิ่มเลือดอุดตัน (พบมากในคนที่มีอายุต่ำกว่า 55 ปี และพบในเพศหญิงเป็นส่วนใหญ่) ที่ต้องเฝ้าระวังกันอย่างต่อเนื่องอีกภายใน 30 วันหลังฉีด อาการนี้เรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เกิดจากหลอดเลือดอุดตัน ภายหลังการรับวัคซีน Covid-19 (VITT) ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย ที่อาจรุนแรงเกินไปจนเกิดการกระตุ้นให้ผลิตเกล็ดเลือดและเกิดเป็นลิ่มเลือดอุดตันขึ้น
แต่ถึงอย่างนั้น คุณก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะอาการลิ่มเลือดอุดตันหลังฉีดวัคซีนนั้น สามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบได้ทันท่วงที นั่นหมายความว่า หากคุณเข้ารับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ควรสังเกตตนเอง ภายใน 30 วัน (นับตั้งแต่วันแรกที่ได้รับวัคซีน) ว่ามีอาการที่เข้าข่ายเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันหรือไม่ จากเช็กลิสต์ต่อไปนี้
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- แขน-ขา อ่อนแรง
- ปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว และพูดไม่ชัด
- มีอาการชักหรือหมดสติ
- สายตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดเจน เห็นเป็นภาพซ้อน
- มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจติดขัด และเหนื่อยง่ายแม้ไม่ได้ออกแรงหนัก
- ปวดท้องหรือปวดหลังอย่างรุนแรง
- บริเวณขามีอาการบวมแดง หรือพบอาการขาเย็นและซีด
การเตรียมตัวก่อนฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)
สิ่งต้องเตรียมไปด้วยเมื่อถึงเวลาที่จะต้องเข้ารับวัคซีน ได้แก่ บัตรประจำตัวประชาชน, Add line หมอพร้อม และภาพบันทึกหน้าจอแสดงรายการนัดหมายฉีดวัคซีน และสำหรับใครที่กำลังกังวลว่าตนเองอาจเกิดอาการแพ้หลังจากฉีดวัคซีน และต้องการเตรียมตัวดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงอันตรายจากการแพ้วัคซีน ให้ดูแลตนเองโดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้
1. ผู้ที่มีประวัติการแพ้
สำหรับผู้ที่เคยมีประวัติการแพ้ต่างๆ สามารถกินยาแก้แพ้ (ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน) ล่วงหน้า เป็นเวลา 30 นาที - 1 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน จะช่วยบรรเทาอาการแพ้เล็กๆ น้อยๆ ลงได้ ทั้งนี้ ควรงดยาไมเกรน กลุ่ม Cafergot, Relpax ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนด้วย (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การฉีดวัคซีนโควิด19 กับคำถามที่พบบ่อย )
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว
สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคที่เป็นมาก่อนการเข้ารับวัคซีน เช่น โรคปอด, โรคหัวใจ หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ วิธีดูแลตนเองก่อน-หลังฉีดวัคซีน)
วิธีดูแลตนเองหลังฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca)
เมื่อฉีดวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ควรอยู่ที่โรงพยาบาล/สถานที่ฉีดวัคซีน 30 นาที ก่อนจะกลับบ้าน และให้สังเกตอาการของตนเองอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีอาการผิดปกติอย่างเช่น อาการแขน-ขาอ่อนแรง, มีอาการชาครึ่งซีก ปากเบี้ยว เริ่มพูดไม่ชัด ให้รีบแจ้งทีมพยาบาลหรือแพทย์ทันที และสำหรับผู้ที่ยังไม่พบอาการผิดปกติภายใน 30 นาที ก็สามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ โดยดูแลตนเองตามแนวทางต่อไปนี้
- พยายามไม่ออกแรงแขนข้างที่ฉีดยา
- อย่าเกร็งแขน หรือยกวัตถุที่มีน้ำหนักมาก
- หากมีไข้สูง หรือรู้สึกปวดเมื่อยมาก ทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการได้
- สังเกตอาการตนเองอย่างต่อเนื่องอีก 2-3 วัน หลังจากฉีดวัคซีน
- หากพบผลข้างเคียงที่ผิดปกติ ตามที่กล่าวมาในข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที หรือติดต่อที่หมายเลข 1669 เพื่อประเมินอาการทันที
ทั้งนี้ หากคุณเข้ารับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) เรียบร้อยแล้ว ผู้เข้ารับการฉีดวัคซีนทุกท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยสูงสุด
สุดท้ายนี้ แม้ว่าคุณจะเข้ารับการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า (AstraZeneca) เรียบร้อยแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะไม่มีโอกาสติดเชื้อโควิด 19 ได้อีก ทั้งนี้เพราะวัคซีนแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันหลังร่างกายได้รับวัคซีนแตกต่างกัน
นั่นหมายความว่า คุณยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 และสามารถแพร่เชื้อได้อยู่ ดังนั้น การปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข “ใส่หน้ากากอนามัย , หมั่นล้างมือบ่อย ๆ,เว้นระยะห่างทางสังคม และ หลีกเลี่ยงการเดินทางในพื้นที่เสี่ยง” ยังคงเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญอย่างเคร่งครัด
สำหรับใครที่อยู่ในระหว่างการรอเข้ารับการฉีดวัคซีน อย่าลืมเตรียมตัว และดูแลสุขภาพให้แข็งแรงดี เพื่อให้ร่างกายพร้อมต่อการรับวัคซีน ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เลือก ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ที่มีคุณภาพทานเพื่อบำรุงร่างกาย และเสริมสร้างสารอาหารที่จำเป็น รวมทั้งใครที่ต้อง Work from home อยู่ที่บ้าน ก็อย่าลืมขยับร่างกายบ่อยๆ ให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย เป็นอีกแนวทางในการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อรอดพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้อย่างปลอดภัยขอบคุณข้อมูลจาก
- www.bbc.com
- FB สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.)
- www.si.mahidol.ac.th
- โรงพยาบาลนครธน