- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

เช็กลิสต์ อาการ 5 สายพันธุ์โควิด-19 ความเหมือน-ต่าง ที่คุณควรสังเกต
ถึงแม้จะผ่านมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ที่มีการเริ่มแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ทั่วทั้งโลก รวมถึงประเทศไทยของเราด้วย จะเห็นได้ว่า แม้ทุกคนจะปฏิบัติตาม มาตรการควบคุมโรค และป้องกันตนเองอย่างมากที่สุดแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถระงับการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสได้ มากไปกว่านั้น ยังมีการพัฒนาของเชื้อไวรัสจนเกิดเป็นเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ขึ้นอีกหลายสายพันธุ์ ที่พบมากในไทยก็ได้แก่ สายพันธุ์เบต้า, อัลฟ่า, เดลต้า และล่าสุดอย่างสายพันธุ์แลมบ์ดา เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่กำลังเฝ้าระวังกันในขณะนี้
เชื่อว่าหลายๆ ท่านคงจะกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่กันอยู่ไม่น้อยเลย เพราะนอกจากเชื้อเดิมที่น่ากลัวอยู่แล้ว ยังมีเชื้อใหม่ที่พัฒนาขึ้นมากกว่าเดิมเข้ามาอีก ก็ยิ่งต้องเพิ่มการป้องกันให้มากขึ้นอีก วันนี้ ทีมงาน RS Mall จะมาอัพเดทสายพันธุ์โควิด-19 พร้อมลักษณะอาการที่ควรสังเกตและเฝ้าระวัง ลองมาอ่านที่บทความนี้กันได้
เช็กลิสต์ อาการโควิด-19 5 สายพันธุ์ กับความเหมือน-ต่าง ที่คุณควรสังเกต
1. สายพันธุ์แลมบ์ดา (Lambda)
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ที่น่าจับตามองเป็นอย่างมากในขณะนี้อย่าง สายพันธุ์แลมบ์ดา เป็นสายพันธุ์ที่พบการแพร่ระบาดครั้งแรกในประเทศเปรู ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 สูงที่สุดในโลก และในขณะนี้ก็ได้พบการแพร่ระบาดในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศในทวีปอเมริกาใต้และประเทศในแถบเทือกเขาแอนดิส คาดว่าจะมาถึงประเทศไทยในอีกไม่นาน
และเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดานั้นยังเป็นเชื้อไวรัสที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนระบุว่า เป็นเชื้อที่อันตรายกว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลต้า และยังเป็นเชื้อที่ทนทานต่อภูมิคุ้มกันและวัคซีนบางชนิด ที่ไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสนี้ได้ เพราะฉะนั้น ทุกคนจึงควรป้องกันตนเองและเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น โดยยังไม่มีการยืนยันลักษณะอาการที่ชัดเจนของผู้ติดเชื้อ
อาการที่น่าสงสัยตามลักษณะของผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา ดังต่อไปนี้
- ปวดศีรษะ
- เจ็บคอ
- มีไข้สูง
- มีประวัติใกล้ชิดหรืออยู่ในพื้นที่เดียวกันกับผู้ติดเชื้อ
2. สายพันธุ์เดลตา-เดลตาพลัส (Delta) (สายพันธ์ุอินเดีย)
2.1 โควิด-19 สายพันธุ์เดลตา (Delta) เป็นสายพันธุ์ที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย และพบเชื้อในประเทศไทยครั้งแรกที่คลัสเตอร์บ้านพักคนงานย่านหลักสี่ เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา โดยสายพันธุ์เดลตาถือว่าเป็นเชื้อไวรัสที่ต้องจับตามองและเฝ้าระวังเป็นอย่างมาก เพราะมีการพบจำนวนผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมากภายในระยะเวลาไม่นาน เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตานั้นจะแตกต่างจากเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบดั้งเดิม โดยจะมีลักษณะอาการที่คล้ายกับการเป็นไข้หวัด และอาจไม่แสดงอาการหนักในผู้ติดเชื้อที่อายุน้อย จึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผู้ติดเชื้อไม่รู้ตัวและเกิดการแพร่เชื้อในวงกว้างเร็วยิ่งขึ้น
อาการที่พบมากในผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา
- ปวดหัว
- เจ็บคอ
- มีน้ำมูก
- ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส
- อาการคล้ายเป็นหวัดธรรมดา
**หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด เราแนะนำให้คุณสังเกตอาการตัวเองในเบื้องต้น แต่หากมีอาการน่าสงสัย หรือ มีอาการหลังจากเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อทันที
2.2 โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าพลัส เป็นเชื้อที่กลายพันธุ์จากสายพันธุ์เดลต้าอีกทีหนึ่ง และถือว่าอยู่ในกลุ่มที่ต้องระมัดระวังที่จะติดเชื้ออย่างมากเช่นเดียวกัน โดยเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์ให้สามารถยึดเกาะกับเซลล์ที่ติดเชื้อได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ สามารถแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลต้าเดิม 17% เพราะสามารถยึดเกาะกับเซลล์ในปอดได้เร็ว และในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนช่วยป้องกันการติดโควิดสายพันธุ์เดลต้าพลัส แต่วัคซีนทุกชนิดที่มีอยู่ ณ ตอนนี้ สามารถป้องกันการอาการป่วยรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้ อย่างไรก็ตาม ทาง WHO ก็ยังไม่ได้จัดให้สายพันธุ์เดลต้าพลัสเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (ที่มา: www.bbc.com ข้อมูลเมื่อ 2 กรกฎาคม 2564)
3.โควิด-19 สายพันธุ์เบต้า (Beta) (สายพันธุ์แอฟริกา)
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า (Beta) เป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ และพบครั้งแรกในไทยที่จังหวัดแถบภาคใต้ จาก อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ปัจจุบันมีการรายงานข่าวว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เบต้ามีแนวโน้มลดลง (ที่มา: www.thairath.co.th) แต่ก็ยังเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง
อาการที่พบมากในผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เบต้า ได้แก่
- เจ็บคอ
- ท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- ตาแดง
- มีอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย
- มีความผิดปกติด้านการรับรสหรือการรับกลิ่น
- มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง
- นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
4. สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) (สายพันธ์ุอังกฤษ)
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า (Alpha) เป็นสายพันธุ์ที่ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) และพบครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2564 โดยมีการเปิดเผยข้อมูลว่าการกลายพันธุ์มาเป็นสายพันธุ์อัลฟ่า สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดิมถึง 1.7 เท่า
อาการที่พบมากในผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์อัลฟ่า ได้แก่
- ตัวร้อน
- หนาวสั่น
- มีไข้สูงกว่า 37.5 องศาฯ
- มีน้ำมูก
- ไอ เจ็บคอ
- หายใจหอบเหนื่อยแม้ไม่ได้ออกแรงหนักๆ
- ปวดศีรษะ และปวดกล้ามเนื้อตามร่างกาย
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- ไม่อยากอาหาร รวมถึง มีความผิดปกติด้านการรับรสหรือรับกลิ่น
- อาเจียน หรือ ท้องเสีย
5. สายพันธุ์แกมม่า (Gamma)
เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์แกมม่า (Gamma) เป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศบราซิล เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรง และแพร่ระบาดได้เร็ว เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ ยังถือว่าพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้น้อยกว่า แต่ก็ควรเฝ้าระวังและสังเกตอาการตนเองอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นสายพันธุ์ที่อันตรายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย
อาการที่พบมากในผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์แกมม่า
- ปวดศีรษะ
- มีไข้สูง
- เจ็บคอ
- มีประวัติใกล้ชิดผู้ที่ติดเชื้อ
อัพเดทวิธีดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลโควิด-19
1. หลีกเลี่ยงการใช้มือขยี้ตา, แคะจมูก
เพราะเชื้อโควิด-19 สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านการไอ, จาม, การสัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก, น้ำลาย ดังนั้น การล้างมือด้วยน้ำสบู่หรือ เจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งที่มีการสัมผัสจุดเสี่ยงหรือพื้นที่สาธารณะร่วมกับบุคคลอื่น หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า เพราะคุณอาจรับเชื้อโควิด-19 เข้าร่างกายแบบไม่รู้ตัวได้
2. เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที หลังออกไปข้างนอก
ในกรณีที่คุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกไปทำงานหรือทำธุระนอกบ้านได้ เมื่อกลับถึงบ้านคุณควรอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าโดยทันที ในกรณีที่สวมเสื้อคลุม ให้เลือกแขวนเสื้อคลุมไว้ในจุดที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ควรแขวนรวมกับเสื้อผ้าสะอาด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
3. ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัส หรือ ใช้สิ่งของสาธารณะร่วมกับผู้อื่น
เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่า คนที่จับก่อนหน้าเรานั้นมีเชื้อโควิด-19 ในร่างกายแต่ไม่แสดงอาการหรือไม่ ดังนั้น คุณจึงควรหลีกเลี่ยงการจับหรือสัมผัสสิ่งของสาธารณะร่วมกับผู้อื่นให้ได้มากที่สุด หรือ ในกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรล้างมือด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อนจับหรือสัมผัสร่างกาย เพื่อป้องกันการนำเชื้อเข้าสู่ร่างกาย
วิธีล้างมือ ป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่
- ล้างมือกับน้ำสบู่ หรือ โฟมล้างมือ 20 วินาที (ร้องเพลงช้าง 2 รอบ)
- จากนั้นปล่อยให้น้ำไหลผ่านมืออีก 15 วินาที
4.สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่อยู่ร่วมกับผู้อื่น
หน้ากากอนามัย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ ดังนั้น คุณจึงควรสวมหน้ากากอนามัย ทุกครั้งที่ออกจากบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโควิด-19
- หน้ากากอนามัย เหมาะสำหรับใส่เมื่ออยู่ในพื้นที่ปิด
- หน้ากาก 2 ชั้น (หน้ากากอนามัย + หน้ากากผ้า) เหมาะสำหรับใส่เมื่ออยู่ในพื้นที่แออัด
- หน้ากากผ้า เหมาะสำหรับใส่เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีคนน้อย สามารถเว้นระยะห่าง (Social Distancing) ได้ และต้องไม่ลืมว่า การใส่หน้ากากผ้าสามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้ สำหรับคนที่ไม่มีอาการป่วยเท่านั้น และ ควรซักทำความสะอาดหน้ากากผ้าทุกวัน เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี
5.เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing)
ในกรณีที่คุณอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ หรือ มีความจำเป็นที่ยังต้องเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ ควรเว้นระยะที่นั่งห่างจากเพื่อนร่วมงานในระยะ 1 เมตร และไม่ควรจัดโต๊ะแบบหันหน้าเข้าหากัน ใส่หน้ากากอนามัยในที่ทำงานตลอดเวลา รวมถึงควรทำความสะอาดของใช้ส่วนตัวไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์, คีย์บอร์ด, เมาส์ และของที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่นๆ อย่างสม่ำเสมอด้วย
สสส. ได้ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับฉากกั้น ช่วยป้องกันโควิด-19 ไว้ดังนี้
- ควรเว้นระยะห่างให้พอดี
- ในกรณีที่มีพื้นที่ไม่เยอะ หรือ ไม่สามารถเว้นระยะห่างได้มากกว่า 1 เมตร ควรใช้ฉากกั้นทั้งด้านซ้ายและด้านขวาด้วย
- ฉากกั้นจะต้องสูงกว่าศีรษะทั้งตอนนั่งและตอนยืนตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป
6. สังเกตอาการป่วยของตัวเอง และทุกคนในบ้านอย่างสม่ำเสมอ
ควรสังเกตอาการป่วยของตัวเองและคนในบ้านอยู่เสมอ และหากพบว่ามีอาการผิดปกติหรือมีอาการเข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 แนะนำให้โทร 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรคทันที
กินฟ้าทะลายโจร ป้องกันโควิด-19 ได้จริงหรือ?
หลังจากที่มีรายงานข่าวเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ เชื่อว่ามีหลาย ๆ คนที่เคยเห็นการแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับการทานสมุนไพรรักษาโรคอย่าง “ฟ้าทะลายโจร” ที่เชื่อกันว่าช่วยรักษาอาการที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และช่วยป้องกันการติดเชื้อได้ ข้อเท็จจริงก็คือ การทาน ฟ้าทะลายโจร ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้
แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ
สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ในฟ้าทะลายโจร เป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต้านไวรัส ทางการแพทย์จึงนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษา เพราะ สารสกัดฟ้าทะลายโจร มีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการหวัด ลดอาการเจ็บคอ, แสบคอ จากการไอ แต่ก็ต้องใช้ยาอย่างระมัดระวัง เพราะอาจเป็นอันตรายกับผู้ใช้ยาได้
พร้อมทั้งมีข้อห้ามใช้ยานี้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น
- สตรีที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
- ผู้ป่วยที่เจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ฟ้าทะลายโจร
สำหรับใครที่ต้องการทานฟ้าทะลายโจรเพื่อบำรุงร่างกาย หรือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาอาการป่วยต่างๆ ควรทานในปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ฟ้าทะลายโจร ยาแผนโบราณ ประเภทยาสามัญประจำบ้าน กับเรื่องที่คุณควรรู้)
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า ขณะนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อ และ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เราทุกคนจึงควรรู้เท่าทันอาการของโรค และหมั่นสังเกตอาการของตนเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจเชื้อทันที สำหรับใครที่ต้องกักตัวหรือ Work from home ในช่วงนี้ก็ขอให้ดูแลสุขภาพให้ดี ทีมงาน RS Mall เป็นกำลังใจให้ทุกท่านฝ่าวิกฤตนี้ไปด้วยกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก