- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

วิธีปฏิบัติตัวเมื่อติดโควิด-19 (ATK 2 ขีด) ลงปอด แต่ต้องรอเตียง
จากสถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีท่าทีว่าจะลดลงในเร็ววันนี้ แม้จะมีการสั่งปิดสถานที่ต่างๆ เพื่อลดการรวมตัวของคนจำนวนมาก แต่ก็ดูเหมือนว่า จำนวนผู้ติดเชื้อไม่ได้ลดลงแต่ กลับกันคือเริ่มมีจำนวนสูงขึ้น สวนทางกับจำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ในการรักษา รวมถึง พื้นที่สำหรับพักรักษาตัวของผู้ติดเชื้ออย่าง “เตียง” ที่เริ่มไม่เพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วย จนทำให้ผู้ป่วยหลายคนต้องดูแลตนเองตามอาการไปก่อนในระหว่างรอเพื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ทีมงาน RS Mall ขอแนะนำแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโควิดลงปอด แต่ยังไม่ได้เตียง หรืออยู่ในระหว่างการรอเตียงเพื่อเข้าไปรักษาตัว ว่าควรดูแลร่างกายของตนเองอย่างไรในระหว่างนี้ ลองมาอ่านบทความนี้กันได้เลย
แนวทางดูแลตัวเอง เมื่อโควิดลงปอด แต่ยังต้องรอเตียง
นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเกี่ยวกับปอด ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาแนะนำแนวทางสำหรับผู้ป่วยโควิดที่เชื้อลงปอด แต่อยู่ในระหว่างรอเตียง จึงจำเป็นต้องดูแลตนเองที่บ้านไปก่อนในเบื้องต้น โดยนายแพทย์ธนีย์ ได้อัปโหลดคลิปวิดีโอลงใน Youtube Channel เป็นเนื้อหาที่แนะนำให้ผู้ป่วยได้นำไปปฏิบัติตามกันดู ได้แก่แนวทางดังต่อไปนี้
1. สังเกตตนเอง ถ้าเหนื่อยง่ายแสดงว่าโควิดลงปอด
คุณควรหมั่นสังเกตตนเองอยู่เรื่อยๆ หากรู้สึกว่าเหนื่อยง่ายแม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมที่ออกแรงหนักๆ ให้ตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีอาการโควิดลงปอด สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตนเองเหนื่อยง่ายหรือไม่ เพราะช่วงนี้อยู่แต่ในบ้าน อาจไม่ค่อยได้ออกแรงหรือเดินทางไปไหนไกลๆ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้
- ลองเดินวนไป-มาในพื้นที่บ้าน
- นั่งแล้วลุกขึ้นยืน 2-3 ครั้งติดๆ กัน หรือ
- ลองกลั้นหายใจเป็นเวลาประมาณ 10-15 วินาที
หากทำตามวิธีข้างต้นแล้วรู้สึกเหนื่อย สันนิษฐานว่ามีความเสี่ยงติดโควิด-19 แล้ว หรือ ถ้าใช้เครื่องวัดออกซิเจนแล้วแสดงผลว่าออกซิเจนต่ำกว่า 94% แสดงว่ากำลังมีอาการโควิดลงปอด
2. นอนคว่ำ
หากพบว่าเชื้อโควิดลงปอดแล้ว ลองปรับเปลี่ยนท่านอน โดยแนะนำให้นอนคว่ำ ถ้ารู้สึกว่านอนคว่ำแล้วไม่สะดวก เช่นในผู้ป่วยที่กำลังตั้งครรภ์ ให้นอนตะแคง หันร่างกายฝั่งซ้ายลง พยายามอย่าเดินไป-มา เพราะอาจทำให้รู้สึกเหนื่อยมากกว่าเดิม
3. ขยับช่วงขา
แม้จะบอกว่าไม่ควรเดินไป-มา เพื่อลดอาการเหนื่อย แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ขยับร่างกายเลย โดยเฉพาะช่วงขา นายแพทย์ธนีย์ ธนียวันแนะนำว่าให้ขยับขาบ่อยๆ ระหว่างนอนพักสังเกตอาการ เพราะการขยับขาบ่อยๆ จะช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดนั่นเอง
4. ทานอาหารให้เพียงพอ
ในช่วงเวลาที่มีอาการป่วย แล้วยังต้องมารอเตียงอยู่แบบนี้ เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกเป็นกังวลและทานอะไรไม่ค่อยลงกันเท่าใดนัก แต่การทานอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ร่างกายกำลังอ่อนแอ แนะนำให้ทานอาหารให้เพียงพอ ถ้าทานไม่ได้จริงๆ ให้ดื่มน้ำ 2-2.5 ลิตร/วัน และสำหรับผู้ที่มีอาการท้องเสียร่วมด้วย ควรดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำที่ร่างกายเสียไปควบคู่กับน้ำดื่มด้วยเช่นกัน
5. กินยาประจำตัว
สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ต้องทานยาเป็นประจำนั้น แนะนำให้ทานยาตามกำหนด อย่าหยุดยาเองเว้นแต่เป็นคำสั่งจากแพทย์
- ผู้ป่วยเป็นเบาหวาน ควรตรวจน้ำตาลบ่อย ๆ หากปริมาณน้ำตาลต่ำกว่าเกณฑ์ควรงดอินซูลิน หรืองดยา
- ผู้ป่วยเป็นความดันโลหิตสูง ควรตรวจวัดความดันบ่อย ๆ ถ้าตรวจพบว่าความดันต่ำ เช่น 90/60 ควรงดยา หากทานยาขับปัสสาวะร่วมด้วยและยังดื่มน้ำไม่ได้ ให้งดยาไปก่อน
ทั้งนี้ กระบวนการทั้งหมดควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพื่อไม่ให้กลายเป็นการเพิ่มความเสี่ยงอาการทรุดมากขึ้นอีก
6. เตรียมยาให้พร้อมเสมอ
คุณควรเตรียมยาที่จำเป็นเอาไว้ใกล้ตัวเสมอ ไม่ว่าจะเป็น
- ยาพาราเซตามอล เอาไว้ทานเมื่อมีอาการไข้
- ผงเกลือแร่ สำหรับชงดื่มเมื่อมีอาการท้องเสีย และ
- ยาประจำตัวเท่าที่จำเป็น
ทั้งนี้ไม่แนะนำให้ทานยาในกลุ่ม NSAID (ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (ponstan), diclofenac (voltaren) เพราะตัวยาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายและเสี่ยงเกิดปัญหาในภายหลัง ถ้าผู้ป่วยมีอาการแพ้ยาพาราเซตามอลให้เปลี่ยนมาเป็นการเช็ดตัวอย่างสม่ำเสมอแทน
7. ระวังตัวเมื่อรู้สึกเหนื่อยมาก
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าการสังเกตตัวเองเป็นเรื่องสำคัญ คุณควรสังเกตตนเองอย่างต่อเนื่องว่ามีอาการเหนื่อยง่ายมากแค่ไหน ถ้ารู้สึกว่าเหนื่อยง่ายมากๆ แม้ไม่ได้ออกแรงอะไรเลย การไปห้องน้ำคนเดียวก็ถือว่าเสี่ยงมากแล้ว เพราะการออกแรงเบ่งขับถ่าย หรือแม้กระทั่งการลุกนั่งในห้องน้ำก็อาจส่งผลให้เป็นลมหมดสติได้
ดังนั้น จึงแนะนำให้หา กระโถน หรือ อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อขับถ่าย ในบริเวณใกล้กับเตียง หรือถ้าต้องการเข้าห้องน้ำ ให้บอกคนอื่นๆ ให้รับรู้ก่อน และไม่ต้องล็อกประตู สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกร่วมด้วย ให้ทานยาระบาย ดื่มน้ำเยอะๆ เพื่อให้ขับถ่ายคล่องยิ่งขึ้น จะลดความเสี่ยงหน้ามืดหรือหมดสติจากการออกแรงเบ่งได้
8. ไม่ขาดการติดต่อ
แม้จะอยู่ในระหว่างการทำ Home isolation แล้วต้องแยกพื้นที่กัน แต่ก็ควรติดต่อกับครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคนใกล้ชิดอยู่เสมอ เพื่อแจ้งอาการ บอกเล่าความเป็นไปในแต่ละวัน หากรู้สึกผิดปกติให้แจ้งคนใกล้ตัวไว้ตลอด ให้มีคนรับรู้อาการอยู่เสมอ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที
ผู้ป่วยโควิด-19 กับการรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation)
เมื่อตรวจพบว่าคุณเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว หากยังไม่ได้รับการจัดหาเตียงสำหรับพักรักษาตัวให้ และคุณจำเป็นต้องดูแลตัวเองอยู่ที่บ้านไปก่อน หรือ ในกรณีที่คุณเป็นผู้ป่วยในกลุ่มสีเขียว (ไม่มีอาการ/ไม่แสดงอาการรุนแรง) แล้วแพทย์ประเมินว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านได้ ก็จำเป็นต้องทำ Home isolation เพื่อลดความเสี่ยงแพร่เชื้อไปยังคนในครอบครัวหรือบุคคลอื่นที่อาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่ใกล้เคียง โดยสามารถปฏิบัติตามแนวทางต่อไปนี้
- ห้ามออกจากบริเวณที่พัก และงดรับแขก
- เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 2 เมตร
- แยกพื้นที่ของผู้ติดเชื้อ กับผู้ที่ไม่ติดเชื้อ
- งดใช้พื้นที่ร่วมกัน และไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารร่วมกัน (ควรแยกชุดอาหารเป็นของแต่ละคน)
- หากไม่ได้อาศัยอยู่คนเดียว ให้สวม หน้ากากอนามัย ตลอดเวลา
- ก่อนทานอาหาร และหลังจากสัมผัสสิ่งของต่างๆ ให้ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้ง
- งดซักเสื้อผ้าร่วมกับของผู้อื่น
หมายเหตุ
สามารถดาวน์โหลดคู่มือ การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ได้ที่ เว็บไซต์ www.thaihealth.or.th/ไทยรู้สู้โควิด หรือ คลิก
ช่องทางติดต่อสายด่วนหาเตียง สำหรับผู้ป่วยโควิด-19
ในกรณีที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 คุณสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อเข้ารับการรักษา หรือ รอคิวสำหรับเข้ารับการรักษา ได้ที่ช่องต่อไปนี้
- 1688 (กด 1) สายด่วน กรมการแพทย์ เฉพาะเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (เวลาทำการ 08.00-22.00 น.)
- 1669 สายด่วน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทรหาเตียงได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น EMS 1669 (iOS และ Android ) เพื่ออำนวยความสะดวกกรณีต้องการเรียกพยาบาล
- 1330 (กด 0) สายด่วน สปสช. โทรสอบถามข้อมูลสิทธิบัตรทอง และหาเตียง ตลอด 24 ชั่วโมง
- 1330 (กด 14) เพื่อแจ้งเข้าระบบการรักษา (ลงทะเบียนเข้า Home isolation แอดไลน์ @nhso หรือ ลงทะเบียนได้ที่ https://crmsup.nhso.go.th/ )
- 1422 สายด่วน กรมควบคุมโรค สอบถามข้อมูลด้านการรักษา คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโควิด-19 ตลอด 24 ชั่วโมง
- 1506 กด 6 สายด่วน ประกันสังคม ติดต่อสอบถามสิทธิประโยชน์ประกันสังคมเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล ตลอด 24 ชั่วโมง
- 02-872-1669 สายด่วน UCEP ปรึกษาปัญหาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินและจำเป็นต้องเข้ารับการรักษา โทรได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- 1330 กด 15 หากต้องการไปรักษาตัวที่ต่างจังหวัด
- สายด่วน ศูนย์เอราวัณ กทม. 1669
- ไลน์ @BKKCOVID19CONNECT
- หาเตียงโควิด www.thai.care
โควิดลงปอดแบบนี้ กินฟ้าทะลายโจร ได้หรือไม่?
สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้วต้องการทานสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ในทางการแพทย์นั้นจะแนะนำว่า ฟ้าทะลายโจรนั้นสามารถดูแลอาการป่วยของผู้ป่วยที่มีอาการน้อย ให้อาการดีขึ้นได้ เพราะมีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการอักเสบ ลดอาการเจ็บคอ ช่วยเรื่องการทำงานของปอด
สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ควรรับประทานฟ้าทะลายโจรที่มีสารสกัด Andrographolide ในปริมาณ 180 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน และต้องอ่านฉลากให้ละเอียด ก่อนรับประทานยาฟ้าทะลายโจรทุกครั้ง และพยายามควบคุมปริมาณไม่ให้มากจนเกินไป เพราะอาจเกิดผลเสียกับตับได้ (อ่านวิธีรับประทานยาฟ้าทะลายโจรได้ที่ คู่มือกินฟ้าทะลายโจรให้ปลอดภัย)
หมายเหตุ
- สำหรับผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ ไม่ควรทานยาฟ้าทะลายโจร เพราะอาจทำให้เกิดอาการตับวายได้
และหากคุณกำลังมองหาฟ้าทะลายโจร แคปซูล ที่ได้มาตรฐาน มีปริมาณสารสกัด Andrographolide ในปริมาณที่เหมาะสม คุณสามารถซื้อยาสารสกัดฟ้าทะลายโจร แคปซูล ผ่านเว็บไซต์ www.rsmall.com หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น RS Mall ได้ฟรี ทั้ง iOS และ Android (คลิก) เรามีบริการส่งตรงถึงบ้านคุณ ไม่ต้องออกจากบ้านมาซื้อเองให้เสี่ยงยิ่งกว่าเดิม
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลดีๆ เพื่อการดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยที่ยังหาเตียงไม่ได้ในช่วงนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี และอย่าลืมปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะได้หายจากอาการป่วยและกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้โดยเร็ว