- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

การฉีดวัคซีนโควิด-19 กับคำถามที่พบบ่อย
นอกจากการ ลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19 และ การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว เราเชื่อว่าหลายๆ คนยังคงมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนอยู่ไม่น้อย และเพื่อไขข้อสงสัยที่คาใจหลายๆ คน ทีมงาน RS Mall ได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่จำเป็นมาไว้ในบทความนี้แล้ว
Q1 : ใครบ้างที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19?
A : ข้อมูลจากกรมอนามัยระบุว่า กลุ่มที่ยังไม่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีน 3 กลุ่ม คือ
- บุคคลคนที่มีอาการเจ็บป่วย หรือ มีไข้สูง กรมอนามัยระบุว่า ควรเข้ารับวัคซีนหลังจากหายจากอาการป่วยจะเป็นการดีที่สุด
- บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ และหลอดเลือด, โรคระบบประสาท, ภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีอาการไม่คงที่ หรือมีอาการกำเริบ ในกรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
- หญิงตั้งครรภ์ ที่อายุครรภ์ยังไม่ครบ 12 สัปดาห์ แม้ข้อมูลจาก Joint Committee on Vaccination and Immunization (JCVI) จะระบุไว้ว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์จะสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ แต่หากคุณต้องการรับวัคซีนในระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ หรือ แพทย์ผู้ดูแลก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีนทุกครั้ง
Q2 : ผู้สูงอายุ ที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถฉีดวัคซีนใดได้บ้าง?
A : สำหรับผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป จะได้รับการวัคซีน AstraZeneza เนื่องจากเป็นวัคซีนที่มีการศึกษาผลลัพธ์ในผู้สูงอายุ ว่าสามารถใช้งานในกลุ่มผู้สูงอายุได้ และผ่านการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เรียบร้อยแล้ว
Q3 : กรณีมีโรคประจำตัว จำเป็นต้องงดยาก่อนเข้ารับวัคซีนหรือไม่?
A : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ได้ให้ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ไว้ดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว หากรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนได้รับวัคซีน
- ผู้ป่วยที่ป็นโรคบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ อัมพฤต และอัมพาต ไม่ควรหยุดยาเพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นในกรณีที่แพทย์แนะนำให้หยุดยาชั่วคราว เพื่อให้ผลลัพธ์ของวัคซีนมีความแม่นยำ
- ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกได้ง่าย ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัดชีน เนื่องจากอาจต้องใช้เวลากดแผลบริวณที่ฉีดให้นานขึ้น และหากหลังฉีดวัคซีน มีอาการห้อเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้น ควรรีบพบแพทย์
- ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการของโรคกำเริบ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ให้รีบมาปรึกษาแพทย์ทันที
(อ่านเพิ่มเติมได้ที่ chulalongkornhospital.go.th)
Q4 : ผู้ป่วยจิตเวช ต้องงดยาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนหรือไม่?
A : ข้อมูลจาก สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระบุว่า ผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ที่ต้องรับประทานยาต้านซึมเศร้า ไม่จำเป็นต้องลดหรือหยุดยาก่อนเข้ารับวัคซีน เนื่องจากการหยุดยาหรือปรับขนาดยา อาจทำให้เกิดปัญหาจากการถอนยา หรืออาจเกิดอาการทางจิตกำเริบได้ และหากท่านมีอาการวิตกกังวลรุนแรง หรือ มีอาการทางจิตที่ไม่คงที่ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิต ได้ให้คำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ไว้ดังนี้
- ควรรับประทานยาต่อเนื่อง และดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อน และ 2 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีน
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- ไม่ควรลดยา เพิ่มยา หรือ ปรับขนาดยาด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือถอนยาได้
- หากมีความกังวลใจเกี่ยวกับการรักษา การรับประทานยา หรือ การฉีดวัคซีน ควรปรึกษาจิตแพทย์ที่ดูแลรักษา
เนื่องจากยังไม่มีรายงานระบุปฏิกิริยาระหว่างยาจิตเวชและวัคซีนโควิด-19 ยาจิตเวชส่วนใหญ่จึงปลอดภัยต่อการฉีดวัคซีน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564)
Q5 : คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?
A : ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน (Pizer และ Moderna) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดให้นม
Q6 : หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสแพ้วัคซีน หรือไม่?
A : หญิงตั้งครรภ์มีโอกาสที่จะเกิดอาการแพ้วัคซีน และเกิดอาการข้างเคียงได้เหมือนบุคคลทั่วไป โดยในกรณีที่มีไข้หลังได้รับวัคซีน สามารถทานยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้หลังรับวัคซีนได้
ทั้งนี้ ในกรณีที่มีประวัติการแพ้ยา, แพ้วัคซีนอื่นๆ (กรณีที่มีอาการแพ้รุนแรง) แนะนำให้แจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และเพื่อความปลอดภัย ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ หรือ แพทย์ผู้ดูแล เพื่อวางแผนในการเข้ารับการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม
Q7 : อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอะไรบ้าง?
A : อาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นหลังเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งออกเป็น 2 กรณีด้วยกัน คือ
- อาการข้างเคียงไม่รุนแรง อาทิ ปวด, บวม, คันบริเวณที่ฉีดวัคซีน, มีไข้ต่ำ, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ อาเจียน ,อ่อนเพลีย
ซึ่งหากมีอาการข้างต้นสามารถกินยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ดซ้ำได้ แต่ต้องห่างกันเกิน 6 ชั่วโมง
หมายเหตุ : หลังฉีดวัคซีนห้ามกินยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs อาทิ Brufen, Arcoxia, Celebrex อย่างเด็ดขาด
- อาการข้างเคียงรุนแรง อาทิ ใจสั่น, แน่นหน้าอก, หายใจไม่ออก, ปวดศีรษะรุนแรง, มีผื่นลมพิษ, ปากเบี้ยว, เป็นลมหมดสติ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง, มีจุดเลือดออกเป็นจำนวนมาก, มีอาการบวม หรือ อาเจียนไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง หากมีอาการข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ หรือ โทรสายด่วน 1669 ,1422 เพื่อแจ้งอาการที่เกิดอย่างเร็วที่สุด
Q8 : ฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 2 ห่างจากเข็มแรกกี่วัน?
A : การเว้นระยะเพื่อรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นั้น จะขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนที่คุณฉีดไป ซึ่งวัคซีนแต่ละยี่ห้อมีจำนวนโดสที่ต้องฉีด และระยะเวลาเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2 ต่างกันดังนี้
ชนิดของวัคซีน | จำนวนเข็มที่ | การเว้นระยะสำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 |
ซิโนแวค (Sinovac) | 2 เข็ม | 2 - 4 สัปดาห์ |
แอสตราเซเนกา (AstraZeneca) | 2 เข็ม | 8 - 12 สัปดาห์ |
ไฟเซอร์ (Pfizer-BioNtech) | 2 เข็ม | 3 สัปดาห์ |
โมเดอร์นา (Moderna) | 2 เข็ม | 4 สัปดาห์ |
จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) | 1 เข็ม | - |
ซิโนฟาร์ม (Sinopharm) | 2 เข็ม | 3 - 4 สัปดาห์ |
สปุตนิก-วี (Sputnik V) | 2 เข็ม | 3 สัปดาห์ |
(ข้อมูล ณ วันที่ 6 พฤษภาคม 2564 (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 8 ข้อมูลวัคซีนโควิด-19 ))
Q9 : หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 สามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่?
A : ได้ แต่ ควรเว้นระยะห่างกับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือ วัคซีนอื่นๆ อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ เพื่อเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาจากการที่ร่างกายได้รับวัคซีนพร้อมกัน และ เพื่อไม่เป็นการรบกวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
ทั้งนี้ หากวัคซีนที่มีความจำเป็น อาทิ วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า สามารถฉีดได้เลยโดยไม่ต้องทิ้งช่วง เนื่องจากความเสี่ยงต่อโรคพิษสุนัขบ้ามีความสำคัญมากกว่านั่นเอง
Q10 : หายจากโควิด-19 แล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนหรือไม่?
A : ในกรณีที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ยังคงต้องฉีดวัคซีนอยู่ และควรเว้นระยะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 หลังจากที่หายป่วยอย่างน้อย 3-6 เดือน
Q11 : ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ยังต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่ไหม?
A : ฉีดวัคซีนแล้วยังต้องใส่หน้ากากอนามัยอยู่ ทั้งนี้เพราะวัคซีนแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันหลังฉีดเข็มที่ 2 ที่ร่างกายแตกต่างกัน
นั่นหมายความว่า หลังฉีดวัคซีนแล้วคุณยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 และสามารถแพร่เชื้อได้อยู่ การปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข “ใส่หน้ากากอนามัย , หมั่นล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่าง” ยังคงเป็นสิ่งที่คุณควรให้ความสำคัญอย่างเคร่งครัด
Q12 : ฉีดวัคซีนโควิด-19 บริจาคเลือดได้ไหม?
A : ข้อมูลจากสภากาชาดไทย ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2564 ระบุไว้ว่า ผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองจากอย. ยังสามารถบริจาคเลือดได้ตามปกติ แต่แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
- กรณีที่ไม่มีอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน : ควรเว้นระยะหลังฉีดวัคซีนประมาณ 1 สัปดาห์ จึงจะสามารถบริจาคเลือดได้
- กรณีที่มีอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน ไม่รุนแรง อาทิ ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, อ่อนเพลีย มีไข้ ในกรณีนี้ควรรอให้หายจากอาการข้างเคียงดังกล่าวก่อน และ ควรเว้นระยะประมาณ 1 -2 สัปดาห์ จึงจะสามารถบริจาคโลหิตได้ (สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สภากาชาดไทย เบอร์ : 02-256-4300)
(ข้อมูล ณ วันที่ 27 พฤษภาคม 2564)
ทั้งหมดนี้ คือข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ทีมงาน RS Mall ได้ทำการรวบรวมมาเพื่อตอบข้อสงสัยและให้ทุกคนสามารถเตรียมตัวเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้หากมีข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม ทีมงาน RS Mall จะรีบอัปเดตให้ทราบต่อไป
ข้อมูลจาก
- www.nakornthon.com
- ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
- www.dailynews.co.th
- www.bangkokbiznews.com
- คำแนะนำการบริหารยาทางจิตเวช และวัคซีนโควิด-19 สำหรับจิตแพทย์ และบุคคลากรทางการแพทย์ (รับรองโดยราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย)