- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

ผมร่วง สัญญาณ COVID-19 จริงหรือ?
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่าในช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาโรคระบาด อันเนื่องมาจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่สร้างความตื่นตระหนกและหวาดกลัวให้กับผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งประเทศไทยของเรา ที่ประสบวิกฤติจาก COVID-19 มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก จึงต้องมีการเฝ้าระวัง สังเกตอาการและป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
สังเกตอาการ แบบไหนที่เข้าข่ายติดเชื้อ COVID-19
อาการของผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะแตกต่างกันไป ผู้ติดเชื้อบางคนมีอาการเล็กน้อย-ปานกลางและหายจากโรคเองได้โดยไม่ต้องรักษาในโรงพยาบาล แต่ก็ควรระมัดระวังและหมั่นสังเกตอาการอยู่เสมอ หากรู้สึกว่าอาการเริ่มรุนแรงให้ไปพบแพทย์โดยทันที
อาการ COVID-19 โดยทั่วไป
- มีไข้
- ไอแห้งๆ
- รู้สึกอ่อนเพลีย
อาการ COVID-19 ที่พบเพิ่มเติม
- ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- เจ็บคอ
- ท้องเสีย
- ปวดศีรษะ
- ตาแดง
- สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส
- มีผื่นขึ้นบนผิวหนัง
- นิ้วมือหรือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
อาการ COVID-19 รุนแรง ควรไปพบแพทย์โดยด่วน
- หายใจลำบากหรือหายใจถี่
- เจ็บหน้าอกหรือมีอาการแน่นหน้าอก
- สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว (ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค)
ผมร่วง สัญญาณอาการใหม่ ที่พบในผู้ป่วย COVID-19
นอกเหนือจากอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ปัจจุบัน ยังมีอาการใหม่ที่พบในผู้ติดเชื้อ COVID-19 คืออาการ “ผมร่วง” โดย ดร. เอสเธอร์ ฟรีแมน ผู้อำนวยการ Dermatology COVID-19 Registry ที่เก็บข้อมูลของผู้ป่วย COVID-19 กว่าพันรายใน 38 ประเทศทั่วโลก ได้ระบุว่า
อาการผมร่วง อาจพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 ในระยะที่กำลังฟื้นฟูสภาพร่างกาย (Recovery Period)
อาการผมร่วงนี้ พบมานานแล้วในกลุ่มผู้ป่วยที่ฟื้นฟูร่างกายจากโรคติดเชื้อต่างๆ เรียกว่า ภาวะผมร่วงจากการมีเหตุกระตุ้น (Telogen Effluvium) โดยมักจะเกิดขึ้นหลังจากร่างกายได้รับความเครียด และส่งผลกระทบต่อวงจรการเจริญเติบโตของเส้นผมนั่นเอง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทางการแพทย์ยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดว่า อาการผมร่วงนั้นเป็นสัญญาณอาการ COVID-19 อย่างแท้จริง เพราะอาการผมร่วงเป็นเพียงภาวะหนึ่งที่มีเหตุจากการกระตุ้นของร่างกายเมื่อติดเชื้อต่างๆ อาจพบในผู้ป่วย COVID-19 บางกลุ่มเท่านั้น จึงไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า ผมร่วงเป็นสัญญาณของอาการติดเชื้อ COVID-19
ไม่ติด COVID-19 แต่ยังผมร่วง เกิดจากอะไร?
นอกเหนือจาก COVID-19 แล้ว อาการผมร่วง ยังพบได้ในกลุ่มคนทั่วไป ซึ่งอาการผมร่วงของบางคน ส่งผลต่อความมั่นใจ บุคลิกภาพ รวมไปถึงความกังวลว่าจะติดโรคร้ายใดๆ
อาการผมร่วงที่พบส่วนใหญ่ คือ
- มีผมร่วงกลางศีรษะ
- ผมบางลงและค่อยๆ หลุดร่วง
- ผมหลุดร่วงออกง่ายเพียงแค่ดึงเบาๆ
- ผมร่วงเป็นหย่อมวงกลม คือ อาการที่เส้นผมร่วงอย่างรวดเร็ว จนเกิดเป็นที่ว่างบนศีรษะเป็นรูปวงกลม ซึ่งหากมีอาการนี้ร่วมกับการที่สีของเล็บมือ-เท้าเปลี่ยนสีหรือเปราะแตก ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
โดยอาการผมร่วงที่กล่าวมาข้างต้น มีสาเหตุมาจาก
- ภาวะเครียดทางจิตใจ หรือจากความเจ็บป่วย
- มีไข้เป็นเวลานาน
- การคลอดบุตร
- การลดน้ำหนักลงอย่างรวดเร็ว
- ปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน อาจมีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูงหรือต่ำเกินไป
- ผลข้างเคียงจากการทานยาบางชนิด หรืออาการแพ้ยา
- การติดเชื้อต่างๆ เช่น ติดเชื้อรา, เอชไอวี, เริม, ซิฟิลิส
- ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
- ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ
- โรคทางผิวหนัง DLE
- โรคทางภูมิคุ้มกัน SLE
- ภาวะโลหิตจาง
- การที่เส้นผมถูกดึงรั้งให้แน่นจนเกินไป ด้วยการมัดผม, ม้วนผม หรือการทำผมด้วยวิธีต่างๆ
- การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ฯลฯ
ลดผมร่วง ทำยังไงดี?
1. หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ผมร่วง
อาทิ อาหารที่มีไขมันสูง เพราะไขมันจากอาหารจะทำให้ร่างกายสร้างไขมันมากขึ้น ส่งผลให้หนังศีรษะมัน และเส้นผมหลุดร่วงได้มากขึ้น รวมถึง ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรส เพราะสาร Monosodium Glutamate ในผงชูรสจะเป็นตัวที่ขัดขวางการดูดซึมของวิตามิน B6 ซึ่งเป็นวิตามินที่กระตุ้นการเติบโตของเส้นผม
2. เลือกใช้ แชมพูลดผมร่วง
การเลือกใช้แชมพูสระผมก็มีส่วน โดยเฉพาะคนที่รู้สึกว่าผมร่วงมากตอนสระผม เราแนะนำให้ลองเปลี่ยนแชมพูใหม่ โดยพิจารณาเป็นแชมพูลดผมร่วงที่มีส่วนผสมจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ ที่นอกจากจะช่วยทำความสะอาดและช่วยฟื้นบำรุงหนังศีรษะ , ลดรังแคและอาการคันหนังศีรษะ แล้วยังมีส่วนช่วยลดสารเคมีตกค้างในเส้นผม พร้อมบำรุงเส้นผมได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
3. สระผมอย่างถูกวิธี
นอกจากการใช้แชมพูลดผมร่วงแล้ว คุณต้องรู้วิธีการสระผมที่ดีต่อสุขภาพผมด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- การใช้น้ำอุณหภูมิห้องในการชะล้างเส้นผม
- ไม่ขยี้หรือเกาหนังศีรษะอย่างรุนแรงขณะที่สระผม และเปลี่ยนมาเป็นการใช้ปลายนิ้วนวดวนเป็นวงกลมที่หนังศีรษะเบาๆ ช่วยทำความสะอาดและกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตให้ดีขึ้นอีกด้วย
4. เลือกทานอาหารเสริมดูแลสุขภาพผม
เมื่อดูแลจากภายนอกแล้ว ภายในก็ต้องบำรุงเพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงและส่งผลให้ผมมีสุขภาพดีคู่กันไปด้วย เช่นเลือกรับประทาน
- ไบโอติน (Biotin) ที่มีส่วนช่วยในการบำรุงเส้นผมและเล็บให้แข็งแรง
- ซิงค์ (Zync) หรือสังกะสี มีส่วนช่วยในการสร้างโปรตีนในเส้นผม ทำให้ผมแข็งแรง ไม่เปราะขาดง่าย
- วิตามินบี ที่มีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก ช่วยให้เส้นผมเจริญเติบโตและลดการเกิดผมหงอก
ในกรณีที่คุณทำทุกทางลองปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแล้วเลือกอาหารเสริมเพื่อสุขภาพผมมาทานได้เลย ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของ “ผมร่วง” และการดูแลผมให้มีสุขภาพดี ไม่หลุดร่วงง่าย ทั้งนี้ เส้นผมที่แข็งแรงก็มาจากร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้น ควรดูแลตัวเองด้วยการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ควบคู่ไปกับการเลือกใช้แชมพูและผลิตภัณฑ์บำรุงหนังศีรษะที่มีเหมาะสมกับเส้นผมและหนังศีรษะของตัวคุณเอง เพื่อให้คุณสามารถบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะได้อย่างเต็มที่ และให้ผมสวยอยู่คู่กับคุณไปนานๆ