- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

โรคกระดูกพรุน รู้ไว้ก่อนจะสาย
โรคกระดูกพรุน คือ โรคที่เกิดจากการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เนื้อกระดูกมีความหนาแน่นลดหรือบางลง ซึ่งหากจะบอกว่าโรคกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่สร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ร่างกายของเราก็ไม่ผิดมากนัก เนื่องจากภาวะการเกิดกระดูกพรุนนั้น เป็นภาวะที่ไม่สามารถตรวจพบหรือสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า กว่าจะรู้ตัวว่าป่วยเป็นโรคกระดูกพรุนก็เมื่อเกิดอาการกระดูกหัก หรือ กระดูกมีการค่อมโค้งผิดรูปของกระดูกสันหลังอย่างชัดเจน
โรคกระดูกพรุน กับกลุ่มเสี่ยง
แม้เราจะได้ยินชื่อ โรคกระดูกพรุน กันจนคุ้นหู แต่รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันในทางการแพทย์ก็ยังไม่สามารถสรุปได้อยู่ดีว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนที่แท้จริงคืออะไร และหลายๆ คนอาจจะคิดว่า โรคกระดูกพรุนมักจะเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงๆ แล้ว ภาวะกระดูกพรุนเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากขึ้นเมื่อคุณมีอายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะกระดูกพรุน มีอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
1. ปัจจัยเรื่องเพศ
หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า ผู้หญิงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าผู้ชาย และยิ่งเสี่ยงมากขึ้นเมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยที่ใกล้หมดประจำเดือน หรือ มีประวัติเคยผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลให้การสลายของเนื้อกระดูกมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเพศ
2. อายุ
โดยปกติแล้วมวลกระดูกของคนเราจะมีความหนาแน่นมากที่สุดในช่วงอายุ 30 ปี และความหนาแน่นของมวลกระดูกจะมีความคงที่ในช่วงอายุ 30 – 40 ปี จากนั้นความหนาแน่นของมวลกระดูกจะค่อยๆ ลดลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
3. ความเสี่ยงที่มาจากพันธุกรรม หรือ กรรมพันธุ์
ไม่ได้มีแค่เพศหรืออายุที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะโรคกระดูกพรุนเท่านั้น แต่กรรมพันธุ์ก็ส่งผลต่อความเสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุนเช่นกัน เนื่องจากงานวิจัยพบว่า ในครอบครัวที่พ่อหรือแม่มีประวัติป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน หรือเคยมีประวัติกระดูกหัก ลูกก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนไปด้วยเช่นกัน
4. ความเสี่ยงที่มาจากประวัติการรักษา หรือ การกินยา
ในกรณีที่คุณมีประวัติการรักษาตัว หรือมีการรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานก็ถือเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะมวลกระดูกบาง และเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เช่น
• ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ ที่รับยาสเตียรอยด์มาเป็นระยะเวลานาน
• ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตัวเอง (SLE)
โรคกระดูกพรุน ป้องกันได้
แม้ว่าในทางการแพทย์จะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้อย่างชัดเจน แต่คุณสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้ด้วยการ เริ่มสะสมแคลเซียมในกระดูกให้ได้มากที่สุดก่อนอายุ 30 ปี และ
1. หมั่นตรวจสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
การตรวจสุขภาพ หรือ ตรวจมวลความหนาแน่นของกระดูกประจำปีจะช่วยทำให้คุณรู้ได้ในเบื้องต้นว่า ปัจจุบันมวลกระดูกของคุณมีความหนาแน่นมากน้อยแค่ไหน และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้สามารถวางแผนบำรุงกระดูก หรือเติมแคลเซียมให้กระดูกได้อย่างทันท่วงที
เนื่องจากงานวิจัยพบว่า คนที่ไม่ออกกำลังกายมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยพบว่า ผู้หญิงที่นั่งมากกว่า 9 ชั่วโมง/วัน มีความเสี่ยงเกิดภาวะกระดูกสะโพกหักมากกว่าผู้หญิงที่นั่งน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวันถึง 50%
สำหรับรูปแบบการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามที่คุณหมอแนะนำ ได้แก่
• การเต้นรำ, เต้นลีลาศ
• การเดินเร็ว
• การวิ่ง (วิ่งบนลู่วิ่ง หรือวิ่งบนถนนก็ได้ทั้งหมด)
• การรำมวยจีนบางประเภท
แต่ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะเป็นเรื่องที่ดี ที่มีส่วนทำให้สุขภาพแข็งแรง และช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้ แต่สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว หรือ ตรวจพบเจอภาวะกระดูกพรุนแล้ว เราแนะนำให้คุณเลือกปรึกษาหรือขอคำแนะนำในการออกกำลังกายจากแพทย์ก่อนจะเป็นการดีที่สุด
2. เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และการใช้ชีวิต
หากคุณไม่อยากให้ตัวเองต้องเผชิญกับโรคกระดุกพรุนเมื่ออายุมากขึ้น เราแนะนำให้คุณหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เช่น
• การดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่มากเกินไป
• การกินอาหารประเภทโปรตีน หรือ เนื้อสัตว์ รวมไปถึงอาหารรสเค็มจัด
• เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และ
• งดสูบบุหรี่
เนื่องจากพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้น นอกจากจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก (วิตามินดี แคลเซียม โปรตีน) แล้วนั้น พฤติกรรมดังกล่าวยังมีส่วนทำลายเซลล์กระดูก ทำให้กระดูกบางลง และแน่นอนว่า ส่งผลให้คุณเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้นอีกด้วย
3. ทานอาหารเสริม เติมแคลเซียม
การเลือกรับประทานอาหารเสริมประเภทแคลเซียม ก็สามารถช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้แข็งแรงได้อีกทางหนึ่ง โดยปริมาณแคลเซียมที่ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย แนะนำในแต่ละวันจะอยู่ที่
• สำหรับผู้มีอายุยังไม่เกิน 50 ปี ควรทานแคลเซียมให้ได้ 800 มิลลิกรัมต่อวัน
• สำหรับผู้มีอายุมากกว่า 51 ปีขึ้นไป ควรทานแคลเซียมให้ได้ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังมองหาแคลเซียมที่จะมีส่วนช่วยให้กระดูกของคุณแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม DD Nee อาจเป็นสิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่ เพราะ DD Nee คอลลาเจน จากปลาแซลมอน มีส่วนช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง ลดภาวะกระดูกพรุน และเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทานแคลเซียมในปริมาณที่มากเกินกว่าร่างกายต้องการ ก็อาจจะส่งผลเสียให้เกิดกับร่างกายเช่นกันน ดังนั้น คุณจึงควรที่จะควบคุมปริมาณอาหารและการทานแคลเซียมอย่างเหมาะสม