- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

เช็กลิสต์ สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 ก่อนยื่นภาษีปี 2565
สำหรับใครก็ตามที่กำลังวางแผนสำหรับการยื่นภาษีปี 2564 (ยื่นภาษีต้นปี 2565) และไม่แน่ใจว่า สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง ทีมงาน RS Mall รวมมาให้แล้ว
สิทธิลดหย่อนภาษี 2564 มีอะไรบ้าง?
ย้ำอีกครั้งว่า รายการลดหย่อนภาษี คือ รายการที่กฎหมายกำหนดให้หักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มจากค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อแบ่งเบาภาระภาษีแก่ผู้เสียภาษี ซึ่งมีผลทำให้เราสามารถจ่ายภาษีได้ถูกลง และเป็นการเพิ่มโอกาสในการรับเงินคืนภาษีอีกด้วย โดยค่าลดหย่อนภาษีปี 2564 มีดังนี้
1. ค่าลดหย่อนส่วนตัว
กฎหมายกำหนดให้คุณสามารถใช้ค่าลดหย่อนส่วนตัวได้ 60,000 บาท โดยผู้เสียภาษีจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้ทันทีที่ทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ประจำปี
2. ค่าลดหย่อนคู่สมรส
กฎหมายกำหนดให้คู่สมรสสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ
- สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 1 คน
- จะต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายกำหนด
- สามีหรือภรรยาต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้ หรือ รายได้ในปีนั้นๆ
- ในกรณีที่สามีและภรรยามีเงินได้ทั้งคู่ สามารถยื่นภาษีรวมกันเพื่อใช้สิทธิลดหย่อนนี้ได้
3. ค่าลดหย่อนบุตร
สำหรับเงื่อนไขการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรนั้น กฎหมายกำหนดไว้ 2 เงื่อนไขด้วยกัน คือ
3.1 สิทธิลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมาย
กฎหมายกำหนดสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายได้คนละ 30,000 บาท และหากมีบุตรคนที่ 2 ที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีบุตรได้คนละ 60,000 บาท
3.2. สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรม
สำหรับผู้ที่มีบุตรบุญธรรม หรือ มีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย กฎหมายกำหนดให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 3 คน และจะต้องเป็นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น
โดยมีเงื่อนไขการค่าลดหย่อนบุตร คือ
- บุตรจะต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี
- หากมีอายุ 21 – 25 ปี บุตรจะต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไปเท่านั้น
- บุตรจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (ยกเว้นกรณีเงินปันผล)
4. ค่าลดหย่อนบิดามารดา
ค่าลดหย่อนบิดามารดาตามกฎหมายกำหนด แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
4.1 ค่าลดหย่อนบิดามารดาตัวเอง กฎหมายกำหนดให้ผู้ที่เลี้ยงดูพ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า
- จะต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ พ่อแม่ที่แท้จริงเท่านั้น
- พ่อ-แม่ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- พ่อ-แม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
ในกรณีที่คุณมีพี่น้อง และต้องการใช้สิทธิลดหย่อนบิดามารดา
คุณจะต้องพูดคุยกับพี่หรือน้องของคุณให้ชัดเจนว่า ใครจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีพ่อแม่ เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า ค่าลดหย่อนบิดามารดาสามารถใช้ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และไม่สามารถยื่นขอใช้สิทธิซ้ำซ้อนได้ นั่นหมายความว่า หากพี่หรือน้องของคุณยื่นใช้สิทธิลดหย่อนทั้งพ่อและแม่ไปแล้ว คุณจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบิดามารดาได้อีกและหากตกลงกันได้แล้ว คุณจะต้องให้เตรียมหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ลย.03) ให้พ่อแม่เซ็นชื่อกำกับ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษีด้วย
4.2 ค่าลดหย่อนบิดามารดาคู่สมรส
ในกรณีที่คุณดูแลพ่อแม่คู่สมรส กฎหมายกำหนดให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีพ่อแม่คู่สมรสได้คนละ 30,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า
- จะต้องเป็นพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือ พ่อแม่ที่แท้จริง
- พ่อ-แม่ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- พ่อ-แม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี
- คู่สมรสต้องไม่มีรายได้ และ ครอบครัวฝั่งคู่สมรสจะต้องไม่มีใครใช้สิทธิลดหย่อนพ่อแม่
- จำเป็นต้องมีหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ลย.03) ให้พ่อแม่เซ็นชื่อกำกับ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี
5. ค่าลดหย่อนผู้พิการ หรือ ทุพพลภาพ
ในกรณีที่คุณเป็นคนดูแลหรือ อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนส่วนนี้ได้ คน 60,00 บาท โดยสามารถใช้บัตรประจำตัวผู้พิการ หรือใบรับรองแพทย์ และเอกสารรับรองการเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูผู้ทุพพลภาพ (ล.ย. 04) เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
6. ค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร
สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท และมีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร ที่จ่ายตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมคือ
- จะต้องเป็นค่าฝากครรภ์ หรือ คลอดบุตร ที่จ่ายให้กับสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน
- ในกรณีที่ท้องปีนี้ คลอดปีหน้า จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามปีที่จ่ายจริง โดยรวมกันจะต้องไม่เกิน 60,000 บาท
- ในกรณีที่ต้องยื่นภาษีทั้งสามีและภรรยา กฎหมายกำหนดให้ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรเป็นของภรรยา แต่หากภรรยาไม่มีรายได้ในปีภาษีนั้นๆ สามีจึงจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรได้
- จะต้องใช้ใบเสร็จรับเงิน และใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย
7. ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี
หากคุณจ่ายเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิตในปีที่ผ่านมา สามารถนำค่าเบี้ยประกันชีวิตที่จ่ายตลอดทั้งปีมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และต้องเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครอง 10 ปี ขึ้นไป และต้องเป็นประกันที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
8. ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้มี 2 กรณี คือ
8.1 ค่าเบี้ยประกันสุขภาพตนเอง
คุณสามารถใช้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพที่จ่ายมาตลอดทั้งปี ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท (ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมปี 2563) และเมื่อรวมกับค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป หรือ เงินฝากแบบมีประกันชีวิต จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท และจะต้องเป็นประกันสุขภาพในกลุ่มต่อไปนี้
- ประกันสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล เนื่องจากเจ็บป่วยและอาการบาดเจ็บ ชดเชยทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วย หรือ อาการบาดเจ็บ
- ประกันอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะ และการแตกหักของกระดูก
- ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง (Critical illnesses)
- ประกันสุขภาพระยะยาว (Long Term Care)
8.2 ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า พ่อแม่ต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทในปีภาษีนั้นๆ และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องให้พ่อแม่มีอายุครบ 60 ปีขึ้นไป
9. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ลดหย่อนภาษี ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และสามารถใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 200,000 บาท และจะต้องเป็นประกันบำนาญที่มีระยะเวลาคุ้มครอง 10 ปีขึ้นไป และต้องเป็นประกันที่ทำกับบริษัทประกันในประเทศไทยเท่านั้น
10. เงินสมทบทุนประกันสังคม ลดหย่อนภาษี
โดยปกติแล้วเงินที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสามารถใช้ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 9,000 บาท แต่ในปี 2564 ได้มีการปรับลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมสูงสุดจาก 750 บาท ทำให้ในปี 2564 เราจะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนประกันสังคม 2564 ได้สูงสุด 5,100 บาท ตามรายละเอียดดังนี้
ผู้ประกันตนมาตรา 33
เดือน | เปอร์เซ็นที่หัก | เงินสมทบสูงสุด (บาท) /เดือน |
มกราคม 2564 | 3% | 450 |
กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2564 | 0.5% | 75 |
มิถุนายน - พฤศจิกายน 2564 | 2.5% | 375 |
ธันวาคม (ไม่มีประกาศแจ้งลดการหักเงินสมทบ) |
750 | |
เงินสมทบรวมสูงสุด | 5,100 |
ผู้ประกันตนมาตรา 39
เดือน | เงินสมทบสูงสุด |
มกราคม - มีนาคม2564 | 278 |
เมษายน - พฤษภาคม 2564 | 432 |
มิถุนายน - สิงหาคม 2564 | 216 |
กันยายน -พฤศจิกายน 2564 | 235 |
ธันวาคม (ไม่มีประกาศแจ้งลดการหักเงินสมทบ) |
432 |
เงินสมทบรวมสูงสุด | 3,483 |
หมายเหตุ
- ข้อมูล ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2564 หากมีการเปลี่ยนแปลงจะอัพเดทข้อมูลให้ทราบต่อไป
11. ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย
ดอกเบี้ยที่เกิดจากการซื้อที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือ คอนโด สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ในกรณีที่เป็นการซื้อที่อยู่อาศัยแบบกู้ร่วม สิทธิลดหย่อนภาษีจะเฉลี่ยตามจำนวนคนที่ร่วมกู้ และสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับการซื้อที่อยู่อาศัยกี่หลังก็ได้ แต่เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 100,000 บาท และต้องใช้เอกสารรับรองการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่เจ้าหนี้ออกให้ เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย
12. ค่าธรรมเนียมจากการรับบริการชำระบัตรเดบิต
ค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการรับชำระบัตรเดบิต สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่จ่ายจริง ระหว่าง 1 พ.ย. 59 – 31 ธ.ค. 64 ซึ่งเป็นสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับกลุ่มบุคคลที่มีรายได้ประเภทที่ 5 – 8 (การรับชำระเงินค่าเช่า, ค่าวิชาชีพอิสระ, ค่ารับเหมา (ทั้งค่าแรงและค่าของ), เงินได้จากการประกอบธุรกิจอื่นๆ ) ที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปีเท่านั้น
13. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องจ่ายภาษีตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้
- ต้องซื้อกองทุน RMF ต่อเนื่องทุกปี
- ต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไว้อย่างน้อย 5 ปี และสามารถขายได้เมื่ออายุครบ 55 ปี เท่านั้น
14. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กบข. / กองทุนสังเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ซึ่งสามารถเพิ่ม % ที่กำหนดกับนายจ้าง และเลือกกองทุนที่ต้องการได้ (ควรศึกษาเงื่อนไขของแต่ละกองทุนประกอบด้วย)
15. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช)
กองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เป็นสิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับคนที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนแห่งชาติเท่านั้น โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดปีละ 13,200 บาท แต่เมื่อรวมกับ กองทุน RMF, กบข., กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสังเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน, เบี้ยประกันบำนาญ จะสามารถลดหย่อนได้ไม่เกิน 500,000 บาท
16. บริจาคลดหย่อนภาษี 2 เท่า
ในกรณีที่คุณเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยงาน หรือโรงพยาบาลที่เข้าเงื่อนไขได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือ
- รายชื่อหน่วยงานด้านกีฬาที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
- รายชื่อสถานพยาบาลของรัฐ ที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
- รายชื่อสถานศึกษาที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า
17. เงินบริจาคลดหย่อนภาษีทั่วไป
สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อนอื่นๆ โดยสามารถตรวจสอบรายชื่อ หน่วยงานที่เข้าเงื่อนไขบริจาคลดหย่อนภาษีได้ที่ เว็บไซต์ของกรมสรรพากร (https://www.rd.go.th)
18. เงินบริจาคพรรคการเมือง ลดหย่อนภาษีได้
ในกรณีที่คุณมีการบริจาคเงินให้พรรคการเมืองที่ชอบ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท และสามารถเช็กรายชื่อและรหัสพรรคการเมือง ได้ที่ www.rd.go.th
และในส่วนของการบริจาคลดหย่อนภาษี คุณสามารถตรวจสอบเงินบริจาคของตัวเองผ่านระบบ e-donation ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร หรือคลิก e-donation และสามารถตรวจสอบค่าลดหย่อนภาษี 2564 ของตัวเองได้ที่ My Tax Account ของกรมสรรพากรเช่นกัน ทั้งหมดนี้คือ ค่าลดหย่อนภาษีปี 2564 ที่ทีมงาน RS Mall รวบรวมมาฝาก และหากมีสิทธิลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม ทีมงาน RS Mall จะรีบอัพเดทให้คุณทราบทันที
และสำหรับใครที่อาจจะรู้สึกเครียดกับการคำนวณภาษี และกำลังมองหาอาหารเสริมบำรุงสุขภาพในด้านต่างๆ หรือ เครื่องนวดไฟฟ้าช่วยแบ่งเบาความเครียด คุณสามารถเลือกซื้อสินค้าคุณภาพดี ราคาพิเศษได้ที่ www.rsmall.com เรารับรองว่า คุณจะได้รับสินค้าดี มีคุณภาพ ส่งตรงถึงบ้านอย่างแน่นอน (สามารถดาวน์โหลด application RS MALL เพื่อรับส่วนลดพิเศษฟรี ทั้ง iOS และ Android)
ได้รับเงินเยียวยาของรัฐ ต้องยื่นภาษีหรือไม่?
ในกรณีที่คุณได้รับเงินเยียวยา และเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากรัฐบาล อาทิ โครงการคนละครึ่ง และ เราเที่ยวด้วยกัน คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนำเงินที่ได้รับจากมาตรการดังกล่าวมายื่นภาษี และ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ประจำปีแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโครงการคนละครึ่ง และเราเที่ยวด้วยกันแก่ประชาชนแล้ว แต่สำหรับผู้ประกอบการ (นิติบุคคล และร้านค้า) ที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง และเราเที่ยวด้วยกัน หากมีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี จะต้องทำการยื่นภาษีและเสียภาษีตามระบบต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก