- บำรุงสุขภาพ
- บำรุงสายตา
- ดีทอกซ์
- บำรุงกระดูกและข้อ
- สุขภาพช่องปาก
- กาแฟเพื่อสุขภาพ
- เครื่องดื่มรังนก
- น้ำสมุนไพร
- เครื่องดื่มวิตามิน
- ข้าว
- เครื่องวัดความดัน
- อุปกรณ์ดูแลผู้สูงอายุ
- เครื่องนวดไฟฟ้า
- กระชายขาว
- ฟ้าทะลายโจร
- Activis
- Real Elixir
- S.O.M.
- ครีมบำรุงผิวหน้า
- เซรั่มบำรุงผิว
- ครีมกันแดด
- เซรั่มบำรุงผม
- แชมพู
- BSC
- Deraey
- MAGIQUE
- Revive
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดกระชับสัดส่วน
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นใน
- ชุดกีฬา
- เสื้อ และกางเกง
- ชุดชั้นใน และกางเกงชั้นในชาย
- กล่องเก็บเครื่องประดับ
- นาฬิกา
- แว่นกันแดด
- กระเป๋า
- เครื่องฟอกอากาศ
- เครื่องปรับอากาศ
- พัดลม
- เตารีด
- เครื่องซักผ้า
- กาต้มน้ำไฟฟ้า
- โคมไฟ และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง
- เครื่องกรองน้ำ
- โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต
- นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
- อุปกรณ์เสริม
- ไดร์ และเครื่องหนีบผม
- เครื่องโกนหนวด
- แปรงสีฟันไฟฟ้า
- Aston
- Philips
- หม้อ
- หม้อทอดไร้น้ำมัน
- หม้อหุงข้าว
- กระทะ
- เตาไฟฟ้า
- เครื่องปั่น/เครื่องคั้นน้ำ
- ชุดจานชาม
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
- เครื่องดูดฝุ่น
- ไม้ถูพื้น
- เครื่องนอน/หมอน
- เตียง และท็อปเปอร์
- โซฟา
- เก้าอี้ และเบาะรองนั่ง
- โต๊ะ
- อุปกรณ์อื่นๆ
- BCC
- Philips
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารสุนัข
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
- อาหารแมว

วิธีเตรียมตัวก่อน - หลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่คุณต้องรู้
หลังจากที่รัฐบาลได้เปิดให้ลงทะเบียนจองคิวสำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านระบบหมอพร้อมสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา (ประชาชนทั่วไป อายุตั้งแต่ 18-59 ปี จะสามารถลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนได้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป)
และก่อนที่จะถึงคิวฉีดวัคซีน วันนี้ทีมงาน RS Mall วิธีเตรียมตัวก่อน - หลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่คุณต้องรู้ ก่อนถึงวันเข้ารับการฉีดวัคซีนมาฝาก
การเตรียมตัวก่อน ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
1. ตรวจเช็กความพร้อมสภาพร่างกายตัวเอง
เพราะความพร้อมของร่างกายเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน คุณจะต้องตรวจสอบความพร้อมของร่างกายก่อนว่า มีความพร้อมรับวัคซีนหรือไม่ เช่น
- ไม่มีไข้สูง เพราะร่างกายอาจกระตุ้นภูมิได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- ไม่มีอาการเจ็บป่วยอื่นๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- งดออกกำลังกายอย่างหนัก 2 วันก่อนฉีดวัคซีน
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ชา, กาแฟ) และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้ารับวัคซีน
- หลีกเลี่ยงการอดข้าว หรือ อาหารก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
- ดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เพียงพอ (3-4 แก้ว) เพื่อให้ร่างกายไม่อยู่ในสภาวะขาดน้ำ
- ควรเลือกใช้แขนข้างไม่ถนัดในการฉีดวัคซีน และหลังฉีดวัคซีนไม่ควรเกร็งแขน หรือ ใช้งานแขนข้างที่ใช้ฉีดวัคซีนเป็นเวลา 2 วัน
2. ควรแจ้งแพทย์ที่ฉีดวัคซีนล่วงหน้า ในกรณีต่อไปนี้
- มีโรคประจำตัว
- มีประวัติการแพ้ยา
- วัคซีน
- อาหาร
- สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เพราะอาจะส่งผลให้เกิดอาการแพ้รุนแรง ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
- มีรอยช้ำ , เลือดออกผิดปกติ หรือ ใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
- เป็นผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือ ใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
- อยู่ระหว่างตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตร
หมายเหตุ
- สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน , ความดันโลหิตสูง, หัวใจ, อัมพฤกษ์ , อัมพาต ไม่ควรหยุดทานยาโดยพลการ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
3. การเตรียมตัวเพื่อฉีดวัคซีน สำหรับผู้ป่วยจิตเวช
กรมสุขภาพจิต ได้ให้คำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับผู้ป่วยจิตเวช ไว้ดังนี้
- ควรรับประทานยาต่อเนื่อง และดูแลสุขภาพจิตของตนเองให้คงที่ โดยเฉพาะในช่วง 2 สัปดาห์ก่อน และ 2 สัปดาห์หลังการฉีดวัคซีน
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่อดนอน ออกกำลังกาย และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
- ไม่ควรลดยา เพิ่มยา หรือ ปรับขนาดยาด้วยตนเอง เพราะอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือถอนยาได้
- หากมีความกังวลใจเกี่ยวกับการรักษา การรับประทานยา หรือ การฉีดวัคซีน ควรปรึกษาจิตแพทย์ที่ดูแลรักษา
- เนื่องจากยังไม่มีรายงานระบุปฏิกิริยาระหว่างยาจิตเวชและวัคซีนโควิด-19 ยาจิตเวชส่วนใหญ่จึงปลอดภัยต่อการฉีดวัคซีน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤษภาคม 2564)
4. ตรวจสอบเอกสารต่างๆ ให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น
- บัตรประจำตัวประชาชน
- วัน-เวลา สถานที่นัดฉีดวัคซีน
สิ่งที่ต้องทำขณะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19
สำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนเข้ารับการฉีดวัคซีนผ่านระบบหมอพร้อมนั้น มีขั้นตอน ณ วันที่เข้ารับการฉีดวัคซีน ดังต่อไปนี้
1. ลงทะเบียนเข้ารับบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านหมอพร้อม (ดูขั้นตอนการลงทะเบียนได้ที่ ขั้นตอนลงทะเบียนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด-19)
2. ชั่งน้ำหนัก และวัดความดันโลหิต
3. ตรวจคัดกรอง ซักถามประวัติ
4. รอคิวเข้ารับการฉีดวัคซีน (ระหว่างนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยให้ความรู้ก่อนฉีดวัคซีน)
5. เข้ารับการฉีดวัคซีน (เป็นการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ)
6. เมื่อฉีดวัคซีนเสร็จ ต้องเฝ้ารอสังเกตอาการเป็นระยะเวลา 30 นาที ที่จุดบริการ (โดยมีทีมแพทย์ พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตคอยดูแลอย่างใกล้ชิด)
7. ตรวจสอบอาการก่อนกลับบ้าน รับคำแนะนำและเอกสารให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่
8. ติดตามข้อมูลและอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนผ่านระบบหมอพร้อม
หลังจากเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มแรกแล้ว คุณจะต้องทำแบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์ทั้งหมด 3 ระยะ คือ
- ระยะ 1 วัน
- ระยะ 7 วัน และ
- ระยะ 30 วัน
หลังจากนั้นจึงจะได้รับการแจ้งเตือนสำหรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ทั้งนี้ คุณจะได้รับใบยืนยันการฉีดวัคซีนหลังจากที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเท่านั้น
สิ่งที่ต้องทำหลัง ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
หลังจากที่คุณเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วคุณต้องเฝ้ารอสังเกตอาการ ณ จุดปฐมพยาบาล โดยมีทีมแพทย์ พร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ประมาณ 30 นาที แต่หากผ่านพ้นช่วง 30 นาทีแรกไปแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำมีดังต่อไปนี้
1. สำรวจอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนอย่างน้อย 48 – 12 ชั่วโมง ในกรณีที่
- อาการข้างเคียงไม่รุนแรง อาทิ ปวด, บวม, คันบริเวณที่ฉีดวัคซีน, มีไข้ต่ำ, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้ อาเจียน ,อ่อนเพลีย
หากมีอาการข้างต้นสามารถกินยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ดซ้ำได้ แต่ต้องห่างกันเกิน 6 ชั่วโมง
- อาการข้างเคียงรุนแรง อาทิ ใจสั่น, แน่นหน้าอก, หายใจไม่ออก, ปวดศีรษะรุนแรง, มีผื่นลมพิษ, ปากเบี้ยว, เป็นลมหมดสติ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง, มีจุดเลือดออกเป็นจำนวนมาก, มีอาการบวม หรือ อาเจียนไม่ต่ำกว่า 5 ครั้ง
หากมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ หรือโทรสายด่วน 1669 ,1422 เพื่อแจ้งอาการที่เกิด และเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างเร็วที่สุด
หมายเหตุ
- หลังฉีดวัคซีนห้ามกินยาแก้อักเสบกลุ่ม NSAIDs อาทิ Brufen, Arcoxia, Celebrex อย่างเด็ดขาด
2. งดการออกกำลังกาย อย่างหนัก 2 วัน
3. งดเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือ งดการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจาก หลังจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก วัคซีนจะต้องใช้เวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันหลังฉีดเข็มที่ 2 และเนื่องจากวัคซีนแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแตกต่างกัน
นั่นหมายความว่า หลังฉีดวัคซีนแล้วคุณยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 และ เป็นพาหะที่สามารถแพร่เชื้อได้อยู่ การเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง หรือ งดทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ
และยังคงต้อง ใส่หน้ากากอนามัย รวมถึง เว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้คุณติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างรอฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 นั่นเอง
4. ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ เพื่อให้หลอดเลือดขยาย ช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น และการดื่มน้ำเปล่าจะช่วยให้ร่างกายขับของเสียได้ดีขึ้น และยังชดเชยน้ำที่ร่างกายสูญเสียไปจากการมีไข้ หรือท้องเสียอีกด้วย
5. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลังฉีดวัคซีน 2 วัน ทั้งนี้เพราะ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อาจทำให้ร่างกายมีอาการขาดน้ำ ซึ่งอาจทำให้อาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนรุนแรงขึ้น
6. งดสูบุหรี่หลังฉีดวัคซีน 24 ชั่วโมง
ใครบ้างที่ยังไม่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19?
ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า กลุ่มที่ยังไม่ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนมีทั้งสิ้น 3 กลุ่ม คือ
1. บุคคลคนที่มีอาการเจ็บป่วย หรือ มีไข้สูง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ควรเข้ารับวัคซีนหลังจากหายจากอาการป่วยจะเป็นการดีที่สุด
2. บุคคลที่มีโรคประจำตัว อาทิ โรคหัวใจ และหลอดเลือด, โรคระบบประสาท, ภูมิคุ้มกันบกพร่องที่มีอาการไม่คงที่ หรือมีอาการกำเริบ ในกรณีนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน
3. หญิงตั้งครรภ์ ที่อายุครรภ์ยังไม่ครบ 12 สัปดาห์ แม้ข้อมูลจาก Joint Committee on Vaccination and Immunization (JCVI) จะระบุไว้ว่า หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์จะสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้
แต่หากคุณต้องการรับวัคซีนในระหว่างที่ตั้งครรภ์อยู่ ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์ หรือ แพทย์ผู้ดูแลก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีนทุกครั้ง
หมายเหตุ
คุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า "คุณแม่ที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน (Pizer และ Moderna) ได้ โดยไม่จำเป็นต้องหยุดให้นมบุตร"
ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจ ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมจะเป็นการดีที่สุด
ทีมงาน RS Mall ขอย้ำอีกครั้งว่า แม้ว่าคุณจะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว คุณยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อโควิด-19 ได้อยู่
นั่นหมายความว่า แม้จะเข้ารับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่คุณยังคงต้อง ปฏิบัติตนตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น ใส่หน้ากากอนามัย , กินร้อน ช้อนใครช้อนมัน , หมั่นล้างมือ, เว้นระยะห่างทางสังคม , ไม่เดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง อย่างเคร่งครัด
ข้อมูลจาก
- คู่มือวัคซีนสู้โควิด ฉบับประชาชน จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (ddc.moph.go.th)
- กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (https://ddc.moph.go.th)
- thematter.co
- workpointtoday.com
- ศูนย์ข้อมูล COVID-19
- www.cdc.gov